สิทธิข้าราชการ
สวัสดิการสำหรับผู้ที่รับราชการ
เมื่อตรวจพบว่า มีการสูญเสียการได้ยิน ตั้งแต่ 40 dB ขึ้นไป
- แพทย์พิจารณา สมควรใส่เครื่องช่วยฟังและจึงออกใบ order แพทย์
- กรณีเครื่องช่วยฟังไม่มีจำหน่ายในโรงพยาบาล แพทย์จะออกใบรับรองให้ผู้ป่วยไปติดต่อขอซื้อเครื่องช่วยฟังจากสถานบริการ ภายนอกได้
- รับเครื่องช่วยฟังทั้ง 2 ข้าง ในราคาข้างละ 13,500 บาท เบิกอีกครั้งเมื่อเครื่องช่วยฟัง มีอายุอย่างน้อย 3 ปี
สิทธิประกันสังคม
สวัสดิการพนักงานที่ทำงานเอกชน
เมื่อตรวจพบว่า มีการสูญเสียการได้ยิน ตั้งแต่ 40 dB ขึ้นไป
- แพทย์พิจารณา สมควรให้ใส่เครื่องช่วยฟังและจึงออกใบ order แพทย์
- กรณีไม่มีเครื่องช่วยฟังจำหน่ายในโรงพยาบาล แพทย์จะออกใบรับรองให้ผู้ป่วยไปติดต่อขอซื้อเครื่องช่วยฟัง จากสถานบริการภายนอกได้โดยสามารถรับเครื่องช่วยฟัง ทั้ง 2 ข้าง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ เบิกอีกครั้งเมื่อเครื่องช่วยฟังมีอายุอย่างน้อย 3 ปี
สิทธิบัตรทอง
กรณีผู้ป่วยมีสิทธิบัตรทอง
- เมื่อตรวจพบว่ามีการได้ยิน อยู่ในระดับเกณฑ์ผู้พิการ สิทธิยังไม่ครอบคลุม
* ให้ผู้ป่วยไปเปลี่ยนสิทธิผู้พิการเป็น ขึ้นทะเบียนคนพิการ (ท.74 บัตรทองผู้พิการ) จะสามารถรับเครื่องช่วยฟังได้ตามโรงพยาบาล ที่มีบริการเครื่องช่วยฟังในสิทธิบัตรทอง จะเป็นเครื่องช่วยฟังที่ถูกขึ้นทะเบียนในระบบ สปสช. เท่านั้น เครื่องช่วยฟังที่ได้จะขึ้นอยู่กับการสูญเสียการได้ยินที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยสามารถรับเครื่องช่วยฟังได้ทีละข้าง โดยต้องมีระยะห่างระหว่างการรับเครื่องสำหรับหูข้างแรกและหูข้างที่สอง อย่างน้อย 3 เดือน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเบิกอุปกรณ์เครื่องช่วยฟัง
สิทธิประกันสังคม สูญเสียการได้ยินทั้ง 2 ข้าง ข้างที่ดีกว่าจะต้องมีค่าเฉลี่ยของระดับการได้ยินทางอากาศ (Air Conduction Threshold) ของความถี่ 500, 1,000 และ 2,000 เฮิร์ต เท่ากับหรือมากกว่า 40 dB
การรับสิทธิ์ ต้องเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ได้รับสิทธิ์เมื่อส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายใน 15 เดือนย้อนหลัง ส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 ปี ก่อนเดือนที่ขอรับการรักษาพยาบาล